มหัศจรรย์แห่งกลไกแสงและเสียง อีกแบบหนึ่งที่สามารถสร้างปืนกลแบบใหม่ได้ทั้ง
ความรู
้และความสนุก ทั้งผู้สร้างและผู้เล่น


ปืนอินฟราเรดแสนกล
ปืนอินฟราเรดแสนกล
ปืนอินฟราเรด แสนกล

                      

 

แนวการออกแบบ                                    จากนิตยสาร Hobby Electronics ปีที่ 11 ฉบับที่ 127 ม.ค. 2546

   โครงงานที่นำเสนอนี้ ท่านผู้อ่านอย่าพึ่งกลัวนะครับ เพราะสิ่งประดิษฐ์ที่ผมทำขึ้นมานี้เป็นเพียงของเล่นครับ ระบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็ใช้แบบจำลองหรือใช้วัตดุอื่นแทนทั้งหมดเช่น ระบบของการยิงซึ่งจะแสดงผลเป็นหลอดไฟสีแดงหรือเรียกตามภาษาช่างว่า แอลอีดี (LED) ส่วนในระบบเลเซอร์นั้น ผมขอใช้เป็นหลอดไฟสีแดง แต่เป็นหลอดสีแดงแบบที่เรียกกันว่า หลอดแอลอีดีซุปเปอร์ไบต์ และในระบบนำวิถีก็ใช้เป็นหลอดภาครับ ภาคส่งที่เป็นแบบอินฟาเรดครับ
ในแนวทางการออกแบบของผมเกิดจากการนำเอาระบบแสงเสียงและระบบการขับมอเตอร์มารวมกัน โดยที่ในระบบของการยิงนี้จะมีการขยับซ้ายขวาได้ เมื่อวัตถุใด ๆ เข้ามาสู่วิถีของการตรวจจับ ระบบจะทำการหยุดและยิงโดยการยิงจะแสดงผลออกมาทางแอลอีดี 2 หลอด โดยกระพริบแบบสลับกันและมีเสียงออกมาทางลำโพงแบบบัตเซอร์ เมื่อวัตถุได้หลุดออกจากวิถีการตรวจจับระบบก็จะหยุดยิงทันทีและทำให้ภาคขับมอเตอร์มีการเคลื่อนที่สลับซ้ายขวาทันที
ต่อไปมาดูการทำงานของบล็อกไดอะแกรมของโครงงานนี้กันเลยนะครับ โดยผมขอเริ่มจากที่เราจะทำการส่งแสงอินฟาเรดออกมาโดยใช้การแพร่เสมือนการหยดหมึกลงในน้ำ ซึ่งภาครับแสงอินฟาเรดจะทำหน้าที่เป็นประตูด่านแรกถ้าไม่มีวัตถุใด ๆ มากระทบส่วนควบคุมการทำงานก็จะสั่งขับมอเตอร์ให้มีการหมุนซ้ายขวาสลับกันไป เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เข้ามาในระยะที่แสงอินฟาเรดสามารถตรวจจับได้ โดยตัวตรวจจับที่ออกแบบไว้ได้ไกลประมาณ 10 เซนติเมตร ภาครับจะทำให้หลอดแอดอีดีที่ใช้เป็นระบบนำทางดับและส่งข้อมูลให้กับส่วนควบคุมการทำงาน
เมื่อในส่วนควบคุมการทำงานได้รับข้อมูลแล้ว จะสั่งให้ระบบการขับมอเตอร์หยุดการทำงานทันที พร้อมกันนั้นจะทำให้ระบบการยิงแสงออกมาทางแอลอีดี และระบบการสร้างเสียงการยิงจะทำงานทันทีเช่นกัน และจะทำงานเช่นนี้จนกระทั่งวัตถุที่ตรวจจับได้ ได้หายไป ส่วนบล็อกการทำงานอีก 2 บล็อกที่เหลือใช้ในการปรับความเร็วของมอเตอร์ การกระพริบของแอลอีดีและเสียง


รูปที่ 1 บล็อกไดอะแกรมแสดงการทำงาน

โครงสร้างและชิ้นส่วนประกอบ

รูปที่2(ก) คือส่วนฐานหมายเลข 1 ลักษณะของส่วนฐานเราจะใช้แผ่นพลาสติกที่มีขนาดความหนา 5 มิลลิเมตร ตัดให้เป็นรูปวงกลมโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 15 เซนติเมตร จากนั้นทำการวัดออกมาจากจุดศูนย์กลางให้มีขนาดของเส้นรัศมี 0.9 เซนติเมตร   
ทั้งสองด้านแล้วเจาะรูด้านละจุด โดยขนาดของรูที่เราเจาะจะใช้ขนาดของดอกสว่าน 3 มิลลิเมตร ดังรูป

รูปที่2(ข) คือส่วนฐานสำหรับติดแผงวงจร ส่วนนี้เราจะใช้พลาสติกที่มีความหนา 3 มิลลิเมตรตัดออกมาโดยให้มีขนาด ความกว้าง 7 เซนติเมตร ความยาว 13 เซนติเมตร จากนั้นทำการเจาะรูดังรูปเพื่อทำการยึดนอตสำหรับติดแผงวงจร โดยแต่ละจุดจะทำการเจาะรูโดยใช้ดอกสว่านขนาด 3 มิลลิเมตร แต่สำหรับบริเวณจุดที่ใช้ติดสวิตช์เราจะใช้ดอกสว่านที่มีขนาด 6 มิลลิเมตรเจาะรู ดังรูป

รูปที่2(ค) คือแผ่นพารามีเซียม (สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป) เราจะใช้มาเป็นตัวรองส่วนฐานหมายเลข 1 โดยให้ตัดออกมาเป็นทรงกลมให้มีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 13.8 เซนติเมตร ตัดออกมาจำนวน 2 แผ่น แผ่นพารามีเซียมที่เราใช้จะมีคุณสมบัติคล้ายแผ่นยาง โดยจะมีความหนืดและสามารถยึดติดกับพื้นได้ดี จะไม่ทำให้ชิ้นงานของเราขยับเขยื่อนเคลื่อนที่ไปมาเวลาเปิดสวิตซ์

รูปที่2(ง) คือส่วนฐานหมายเลข 2 สำหรับยึดแกนหมุน ในส่วนนี้เราจะใช้พลาสติกที่มีขนาดความหนาขนาด 10 มิลลิเมตร วัดออกมาเป็นรูปวงกลมโดยให้มีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร แล้วเจาะรูตรงจุดศูนย์กลางจากนั้นวัดออกมาจากจุดศูนย์กลางโดยมีรัศมี 0.9 เซนติเมตรจากนั้นเจาะรูทั้งสองข้างดังรูป

จากนั้นให้เจาะรูที่ด้านข้างของขอบวงกลม ลักษณะของการเจาะต้องเจาะให้ทะลุถึงอีกด้านหนึ่งของขอบวงกลม ในการเจาะรูส่วนนี้เราจะใช้น๊อตขนาด 3 มิลลิเมตรจำนวน 2 ตัว ใส่เข้าไปด้านละหนึ่งตัวเพื่อเป็นตัวล็อคแกนให้แน่น ขนาดของรูที่เราทำการเจาะจะใช้ดอกสว่านขนาด 2.5 มิลลิเมตรเจาะ จากนั้นให้ใช้ตัวดราฟเกลียวขนาด 3 มิลลิเมตร ทำการดราฟเกลียวทั้ง 2 จุด (สามารถหาซื้อตัวดราฟเกลียวได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป)
       
      มีต่อ...     

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง