เชื่อหรือไม่ว่า!  คุณสร้างชีวิตจิตใจให้หุ่นยนต์ได้

ROTOR 2

        ROTOR 2

                  ROTOR 2

               หุ่นยนต์หัวใจอ่อนไหว

   
         

หุ่นยนต์เคลื่อนที่อย่างไร              จากนิตยสาร Hobby Electronics ปีที่ 11 ฉบับที่ 124 ต.ค. 2545

    เพื่อน ๆ ทราบหรือไม่ว่าหุ่นยนต์มีลักษณะการเคลื่อนที่อย่างไร ถ้าไม่ทราบผมจะขอไขข้อข้องใจให้กระจ่างกับเพื่อน ๆ เองครับ ในหลักการทำงาน เราจะต้องงใช้ดวงตาของหุ่นยนต์เป็นแสงอินฟราเรดทำงานเป็นภาคส่งและภาครับจำนวน 2 คู่ ต่อไปเรามาดูการเคลื่อนที่ของเจ้าตัวหัวใจอ่อนไหวกันเลยดีกว่า
    หากมีวัตถุเคลื่อนที่พุ่งเข้าชนตัวหุ่นยนต์ของเราและหุ่นยนต์ตรวจจับได้ก็จะถอยไปด้านหลังทันทีเหมือนเป็นหุ่นยนต์ขึ้ตกใจ แสดงดังรูปที่ 1 การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ในรูปที่ 1(ก) และจะถอยหลังต่อไปถ้าวัตถุนั้นยังเคลื่อนที่เข้าไปหาและถ้าวัตถุมีการเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายหรือขวา เจ้าตัวหุ่นยนต์จะทำตัวเป็นหุ่นยนต์ขี้สงสัย หันตามวัตถุนั้นอย่างใกล้ชิดและตามติดเสมือนกับเป็นักข่าวหัวเห็ดดังรูปที่ 1(ข) และรูปที่ 1 (ค)

         

รูปที่ 1 การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์

ชิ้นส่วนของหุ่นยนต์

ในส่วนฐานแสดงดังรูปที่ 2 ในส่วนเนื้อหาเรื่อง ROTOR1 ซึ่งเราจะใช้พลาสติกที่มีความหนาขนาด 3 มิลลิเมตร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างของหุ่นยนต์
พลาสติกในส่วนนี้เราจะต้องตัดจำนวน 2 ชิ้น เพื่อที่จะทำในส่วนฐานและส่วนปิดด้านบนของตัวหุ่นยนต์ ซึ่งทั้ง 2 ชิ้นจะต้องมีขนาดเท่ากัน โดยขนาดของแผ่นพลาสติกจะมีขนาด กว้าง 6.4 เซนติเมตร และยาว 15.4 เซนติเมตร สำหรับชิ้นส่วนฐานปลายทั้ง 2 ด้าน จะต้องเจาะรู โดยวัดจากขอบฐานเข้ามา 2 เซนติเมตร เพื่อยึดกับตัวที่วางมอเตอร์
ในรูปที่ 3 ส่วนนี้เราจะทำที่วางมอเตอร์ โดยจะใช้พลาสติกที่มีขนาดความหนา 2 มิลลิเมตร มีขนาดความกว้าง 2 เซนติเมตร และความยาว 4 เซนติเมตร ตัดตามขนาดจำนวน 2 ชิ้น แล้วใช้ความร้อนจากหัวแร้งดัดตรงกลางแผ่นให้ได้ขนาด 30 องศา
จากนั้นนำไปติดกับส่วนฐาน โดยวัดจากขอบส่วนฐานเข้ามา 0.5 เซนติเมตร แล้วนำที่วางมอเตอร์ที่เตรียมไว้มาติดตั้งดังรูปใช้นอตยึดให้แน่น นำมอเตอร์ของรถกระป๋องมาติดกับที่วางฐานโดยใช้กาว 2 หน้าเป็นตัวเชื่อมติด

         
        มีต่อ...      

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง