รูปที่ 2 ส่วนของแผ่นวงล้อแบ่งเป็นช่องระบายสี
ลักษณะของการดราฟเกลียว ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะยังสงสัยอยู่ว่าทำกันอย่างไร ผมจะขออธิบายสั้นเพื่อที่ท่านจะได้ลองไปทำกันนะครับ วิธีการทำก็คือ เมื่อเราเจาะรูวัสดุได้ตามขนาดที่เรากำหนดไว้แล้วจากนั้นเราก็ใช้ตัวดราฟเกลียว 
 โดยใช้หัวดราฟที่มีขนาดใกล้เคียงกับรูที่
 เราเจาะไว้มาเป็นตัวดราฟให้ได้ตามขนาดที่เราต้องการ รูที่ได้จากการดราฟนั้นเราก็จะสามารถนำนอตมาขันได้พอดี สำหรับตัวดราฟเกลียวเราสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่ว ๆ ไปครับ
รูปที่ 1(ฉ) แผ่นสำหรับยึดตัวแผ่นฐานวงล้อ เราจะใช้แผ่นพารามิเซียมที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น จากนั้นก็เจาะรูตรงกลางให้มีขนาด 3 มิลลิเมตร เพื่อที่เราจะสวมเข้าไปที่แท่งแกนเหล็กได้ดังรูป ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องใช้แผ่นพารามิเซียม  
(เป็นแผ่นยางมีลักษณะคล้ายเนื้อโฟมละเอียดสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป) สาเหตุที่เราใช้แผ่นพารามิเซียม เนื่องมาจากว่า แผ่นพารามิเซียมจะมีลักษณะพิเศษคือ จะมีความหนืดของยางอยู่ซึ่งจะทำให้สามารถยึดแผ่นฐานของวงล้อได้ดี เมื่อเราหมุนแกนจะทำให้ส่วนของแผ่นฐานวงล้อหมุนตามไปด้วย
รูปที่ 1(ช) ในส่วนแผ่นฐานวงล้อ เราจะใช้แผ่นอาคิริคที่มีความหนาขนาด 2 มิลลิเมตร ตัดเป็นรูปวงกลม โดยให้มีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เซนติเมตร ตัดตามรูป เราสามารถใช้แผ่นไม้อัดแทนได้
รูปที่ 2 เป็นส่วนของแผ่นวงล้อ ในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก
เพราะเราจะใช้เป็นตัวกำหนด จำนวนของตัวเลขที่เราต้องการจะให้แสดงผลออกมาที่ 7-Segment ตามที่เราได้ระบายสีไว้ในแผ่นวงล้อนี้ โดยเราจะวาดแบบลงบนกระดาษขาว A4 ขนาด 70 แกรม ซึ่งจะมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตรจากนั้นทำการแบ่งช่องภายในพื้นที่วงกลมให้ได้ช่องละ 30 องศา จะได้จำนวนช่องทั้งหมด 12 ช่องพอดี ดังรูป
จากนั้นวาดรูปวงกลมลงไปภายในพื้นที่จำนวน 4 วง นับแล้วเราจะได้วงกลมทั้งหมด 5 รูป ภายในพื้นที่แผ่นวงล้อนี้ดังรูป โดยขนาดของวงกลมรูปที่1 ที่เราจะวาดให้เริ่มวัดออกมาจากจุดศูนย์กลางโดยใช้วงเวียนเป็นตัววาด ขนาดของวงเวียนที่ใช้ในวงกลมแรกให้เรากางเวียงเวียนออกให้มีขนาด 1.3 เซนติเมตร วงกลมในรูปที่ 2 กางวงเวียนให้มีขนาด 2.8 เซนติเมตร
วงกลมในรูปที่ 3 กางวงเวียนให้มีขนาด 4.4 เซนติเมตร วงกลมในรูปที่ 4 กางวงเวียนให้มีขนาด 5.7 เซนติเมตรดังรูปและเส้นรอบวงให้เรากางวงเวียนให้ได้ขนาด 7.5 เซนติเมตรจะได้พื้นที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตรพอดี
จากนั้นให้ทำการกำหนดช่องที่เราจะระบายสีดำว่าเราต้องการให้ตัวเลขที่จะแสดงออกมาเป็นตัวเลขที่มีค่าเท่าไหร่บ้าง
รูปที่ 3 เวลาที่เราระบายให้สังเกตดูว่า จากเส้นรัศมีของวงกลมเราจะนับจำนวนช่องออกมาได้ 5 ช่องในแต่ละแถว ซึ่งรูปวงกลมที่อยู่ด้านในสุดเราจะไม่ใช้เพราะจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับติดกับแกนหมุน ให้เราระบายสีดำทับลงไปเพื่อป้องกันการสะท้อนของพื้นเดิมซึ่งเป็นสีขาว ดังนั้นเราจะเหลือพื้นที่ที่เราจะใช้ระบายได้จำนวน 4 ช่องด้วยกันในแต่ละแถวดังรูป นั่นหมายถึง! ช่องที่อยู่ถัดจากวงกลมด้านในสุด จะเป็นช่องที่แทนค่าด้วย เลข 1 และช่องรองลงมาจะมีค่าเป็น เลข 2 , 4 และ 8 เสมอตามลำดับในแต่ละแถว ตามหลักพื้นฐานวิธีการคิดเลขทางดิจิตอล
วิธีการระบายแบบง่าย ๆ ให้จำไว้เสมอว่า หากเราระบายสีดำลงไปที่ช่องใด นั่นหมายความว่า ช่องนั่นจะมีค่าเป็น 0 (ตามหลักการคิดทางดิจิตอล) ไม่ต้องนำมาคำนวณ
หากช่องใดที่ไม่ถูกระบายพื้นที่ตรงจุดนั้นก็จะมีลักษณะเป็นพื้นสีขาวคงเดิม นั่นแสดงว่าช่องนั้นจะมีค่าสามารถนำมาคำนวณได้
โดยจะมีค่าตามตัวเลขที่เราแทนค่าไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าค่าของตัวเลขนั้นจะเป็นเลขอะไร อาจจะเป็นเลข 1 , 2 , 4 หรือ 8 ก็ได้ แล้วแต่ตำแหน่งว่าขณะนั้นเราอยู่ ณ จุดใด
     
    มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง