รูปที่ 3 ค่าตัวเลขของแต่ละช่อง
รูปที่ 4(ก) ในแถว A จุดที่ถูกระบายสีดำคือ ช่องที่มีค่าเป็นเลข 1 เลข 4 และ เลข 8 ทั้งสามค่านี้จะมีค่าออกมาเป็นเลข 0 ไม่ต้องนำมาคำนวณ
สำหรับจุดที่ไม่ถูกระบายคือ จุดที่มีค่าเป็น 2 นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาทั้งแถว A แล้วค่าที่ออกมาในแถวนี้จะแสดงผลออกทาง 7-Segment เป็นเลข 2 ดังรูป 4(ข)

รูปที่ 5 แถว B จุดที่ถูกระบายสีดำคือ ช่องที่มีค่าเป็นเลข 2 และ เลข 8 แสดงว่า ทั้ง 2 ค่านี้จะมีค่าเป็น 0 ไม่ต้องนำมาคำนวณ จุดที่ไม่ถูกระบายคือ ช่องที่มีค่าเป็น 1 และ 4 แสดงว่าทั้ง2 ค่าสามารถนำไปคำนวณได้
พิจารณาทั้งแถวB แล้วจะได้ค่าออกมาดังรูป B แสดงว่า ค่าที่แสดงออกมาที่ 7-Segment จะเป็นเลข 5

รูปที่ 6 แผ่นวงล้อที่ 1 ค่าที่กำหนดจากการระบายจะมีค่าตั้งแต่ เลข 0-11 ตามลักษณะที่เราระบาย

รูปที่ 7 แผ่นวงล้อที่ 2 ค่าที่กำหนดจากการระบายจะมีค่า 8 , 4 , 2 ,1 และ 8 , 4 , 2 , 1 และ 8 , 4 , 2 , 1 ตามลักษณะที่เราระบาย ซึ่งในแผ่นวงล้อที่ 2 นี้เราสามารถนำไปขับการหมุนของ สเต็ปปิ้งมอเตอร์ให้สามารถหมุนเดินหน้าและเดินกลับหลังได้ครับ หากท่านผู้อ่านมีเวลาว่าง ๆ ลองนั่งคิดหาวิธีการขับเสต็ปปิ้งมอเตอร์แบบอื่น ๆ ดูนะครับ
เมื่อเราระบายสีเสร็จแล้ว เวลาจะติดแผ่นวงจรกับแผ่นฐานวงจร เราจะใช้เทปกาว 2 หน้า หรือเทปกาวที่มีลักษณะบางกว่าเทปกาว2หน้า ที่เราเรียกกันว่าเทปกาวขี้มูกมาเป็นตัวยึดติด เพื่อป้องกันการงอของแผ่นวงจร เพราะว่าถ้าหากแผ่นวงจรมีลักษณะการงออาจจะทำให้ค่าที่แสดงออกมาทาง 7-Segment ไม่ตรงตามค่าที่เราออกแบบไว้ได้ถือว่าจุดที่ไม่ควรมองข้ามครับ

รูปที่ 8(ก) สำหรับตัวยึดแผ่นวงล้อนั้น เราจะใช้แหวนขนาด 3 มิลลิเมตรและนอตตัวเมียขนาด 3 มิลลิเมตร เป็นตัวยึดแผ่นวงล้อนี้
เราจะใช้ปิดบริเวณด้านปลายของแนวแกนเหล็กเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นวงล้อหลุดออกมา

รูปที่ 8(ข) แผ่นติดแผงวงจร เราจะใช้อาคิริคที่มีความหนาขนาด 5 มิลลิเมตรกว้าง 7 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร โดยใช้น้ำยาเชื่อมพลาสติกเชื่อมติดระหว่างแผ่นติดแผงวงจร
กับส่วนฐานในการทำชิ้นส่วนนี้เราสามารถใช้แผ่นไม้อัดที่มีขนาดใกล้เคียงแทนได้

รูปที่ 4 ตัวอย่างการระบายสีเพื่อให้ค่าตัวเลขออกมาเป็น 2
 
   

รูปที่ 5 ตัวอย่างการระบายสีเพื่อให้ค่าตัวเลขออกมาเป็น 5
รูปที่ 8(ค) ลักษณะการติดแผงวงจรลงแผ่นฐานติดแผงวงจร เราจะใช้ขนาดของตัวรองแผ่นปริ้นท์ที่มีขนาดความยาว 8 มิลลิเมตร (เป็นขารองแผ่นปริ้นต์ขนาดเล็กสุด ที่มีขายตามร้านขายอะไหล่อิเล็คทรอนิกส์ทั่วไป) หรือหากเราไม่มีตัวขารองแผ่นปริ้นท์เราอาจจะดัดแปลงโดยหันมาใช้ปลอกของปากกามาตัดให้มีขนาดตามแบบแทนก็ได้นะครับ จากนั้นก็ใช้นอตสวมลงไป โดยนอตเราจะใช้ขนาด 3 มิลลิเมตร และมีความยาว 1.5 เซนติเมตร ขั้นตอนต่อมาคือ ใช้นอตตัวเมียที่มีขนาด 3 มิลลิเมตรล็อคติด เพื่อยึดระหว่างแผงวงจรกับแผ่นฐานติดแผงวงจรให้แน่น

รูปที่ 8(ง) ตัวยึดแผ่นติดแผงวงจร เราจะใช้แท่งอาคิริคที่มีความหนา 15 มิลลิเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร สูง 7 เซนติเมตร เพื่อเป็นตัวยึดแผ่นติดแผงวงจรกับส่วนฐานให้แน่นโดยใช้น้ำยาเชื่อมพลาสติกเป็นตัวเชื่อมติด

รูปที่ 8(จ) สวิตซ์โยก เราจะนำสวิตซ์โยกไปยึดติดไว้กับแผ่นฐานติดแผงวงจร โดยต้องเจาะบริเวณแผ่นฐานติดแผงวงจร ดังรูปให้ใช้ดอกสว่านขนาด 6 มิลลิเมตรเจาะตามแบบ

รูปที่ 8(ฉ) รังถ่านเราจะใช้รังถ่านขนาด 4 ก้อน โดยจะติดไว้บริเวณด้านหลังของแผ่นติดแผงวงจร โดยใช้เทปกาว 2 หน้าเป็นตัวยึดติด

รูปที่ 8(ช) ลักษณะของเสต็ปปิ้งมอเตอร์ เราจะวางไว้บริเวณด้านใต้ของแผงวงจร โดยใช้เทปกาว2หน้าเป็นตัวเชื่อมติดดังรูป
   
  มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง