รูปที่ 5 ตัวยึดส่วนฐานกับส่วนบนของหุ่นยนต์
 

รูปที่ 6 แผ่นพลาสติกใช้เป็นส่วนยึดแผ่นวงจร
 
รูปที่ 4 ตัวสร้างความสมดุล ในส่วนนี้เราจะใช้พลาสติกที่มีความหนาและกว้าง 0.5 เซนติเมตร และยาว 5.5 เซนติเมตร ซึ่งในส่วนของตัวสร้างจุดสมดุลนี้ หากหาแผ่นพลาสติกขนาดนี้ไม่ได้ สามารถดัดแปลงโดยเปลี่ยนมาใช้แผ่นไม้อัดแทนได้ (ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป)
 ส่วนสร้างจุดสมดุลนี้เราจะนำไปติดบริเวณด้านล่างของส่วนฐาน โดยใช้กาวตราช้างเป็นตัวเชื่อมเพื่อให้ยึดติดกันแน่นหนามากขึ้น
 รูปที่ 5 ตัวยึดติดฐานและส่วนบนของหุ่นยนต์ ในส่วนของการยึดตัวฐานและพลานติกด้านบนของหุ่นยนต์นี้ จะใช้นอตขนาด 3 มิลลิเมตร จำนวน 2 ตัวเป็นตัวยึด แล้วใช้พลาสติกรองแผ่นปริ้นต์ (จะใช้ปลอกปากกาก็ได้) เป็นปลอกสำหรับสวมนอตเพื่อให้โครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ดูแข็งแรงทนทานมากขึ้น
 สำหรับการเจารูใส่นอตจะต้องเว้นให้มีระยะที่พอดี ต้องเจาะรูทั้งแผ่นส่วนฐานและแผ่นพลาสติกด้านบนให้มีระยะที่เท่ากันด้วย
 รูปที่ 6 แผ่นติดแผงวงจร สำหรับแผงวงจรเราจะนำไปติดกับแผ่นพลาสติกที่มีขนาดความหนา 2 มิลลิเมตร ความกว้าง 5 เซนติเมตร และความยาว 5.8 เซนติเมตร โดยนำไปติดบริเวณด้านหน้าของหุ่นยนต์ ซึ่งจะนำไปติดตรงบริเวณส่วนด้านในช่วงขอบระหว่างส่วนฐานและส่วนพลาสติกด้านบนสำหรับการติดแผงวงจรและลังถ่านนั้นจะใช้เทปกาว 2 หน้าเป็นตัวเชื่อมติด

แนวทางการออกแบบ

 มาพิจารณาตารางค่าความจริงในรูปที่ 7 กันก่อนนะครับ เพื่อที่จะได้ออกแบบการทำงานของหุ่นยนต์ได้ตามความต้องการของเรา
 จากตารางค่าความจริงที่เราต้องการ เมื่อ L = 0, R = 1หรือ L = 1, R = 0 จะทำให้มอเตอร์หมุนกลับทิศทางกัน เมื่อ L = 1, R = 1 มอเตอร์จะหมุนถอยหลังและพิจารณาที่ L = 0, R = 0 ตรงจุดนี้จะพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะชื่อของโครงงานเราคือ "หุ่นยนต์หัวใจอ่อนไหว" จะไม่มีการวิ่งไปข้างหน้าอย่างเด็ดขาด จึงพิจารณาสภาวะที่เกิดขึ้นว่า เป็นสภาวะของหุ่นยนต์ที่ต้องหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนที่ เราจึงต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อให้สภาวะนี้หยุดนิ่งแต่สภาวะอื่น ๆ มีการเคลื่อนที่ของมอเตอร์ สิ่งที่ทำก็คือ ต้องพิจารณาตารางความจริงของ L293 เมื่อเราให้ขา ENABLE เป็น 0 จะทำให้เกิดสภาวะหนึ่งที่ทำให้มอเตอร์ไม่หมุน เราจึงได้ออกแบบตามบล็อกไดอะแกรมดังรูปที่ 8

   
  มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง